Monday, October 6, 2014

103 ภาพเมืองในมุมมองการตั้งถิ่นฐาน

มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล ภาพเมืองเชิงพื้นที่
คนบ่นเมือง: มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล
103 ภาพเมืองในมุมมองการตั้งถิ่นฐาน


ในตอนที่ 102 เราสำรวจพบภาพเมืองบนโลกอินเตอร์เน็ท นั้นส่วนมากมักปรากฏในรูปของตึกรามบ้านช่องหรืออาคารสถานที่ สิ่งปลุกสร้าง ที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมหมู่ในสถานที่จำกัดหรือพื้นที่กว้างแผ่ออกเพื่ออำนวยความสุขสบายและปลอดภัยสำหรับการเป็นอยู่ทำกิจกรรมของหมู่มนุษย์

กล่าวคือคนอยู่เมืองจะสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อสนองความต้องการให้มีสิ่งห่อหุ้มคุ้มกันภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแบบต่าง ๆ เพื่อประกันความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเกิดมีพื้นที่สำหรับใช้ชีวิตอยู่อาศัย เพื่อให้เกิดการเป็นส่วนตัวส่วนบุคคลหรือกลุ่มสังคม เพื่อเก็บรักษาสงวนไว้ซึ่งสิ่งที่ตนมีหรือครอบครอง และเพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตและการงาน



คำถามต่อมาก็คือ ล้วภาพมุมกว้างของภูมิประเทศหรืออาณาเขตที่สิ่งปลูกสร้างแสดงตนแทนภาพเมืองเหล่านั้น สร้างขึ้นมาแล้ว มีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
คำตอบ: ภาพต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความมั่นคง ถาวร และหนาแน่น ของสิ่งเหล่านี้ (ตัวอย่าง) ได้แก่

1. เป็นชุมชน (Community) มีผู้คนอาศัยอยู่หรือทำกิจกรรมอยู่ข้างในชุมชน “ภาพแทนความเป็นเมือง” นั้น ๆ










 2. เมืองประกอบด้วยภาพของผู้คนพลเมือง (People) หมายถึงบุคคลต่าง ๆ  ที่เข้าอยู่หรือเสมือนเป็นอยู่ในฐานะสมาชิกกลุ่มชนใด ๆ เช่น เชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา หรือการดำรงตนของกลุ่มชนเหล่านั้นในวิถีชีวิตที่เด่นชัดตามวิถีอาชีพหรือชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ 













3. ภาพแทนความเป็นเมือง ขนาดเล็กที่สุดอาจมองเห็นจากระดับเล็กไปหาใหญ่ หรือจากเบาบางไปหาหนาแน่น เริ่มต้นจากคำว่า  “กลุ่มบ้าน” (hamlet) ที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนย่อยขนาดย่อมหรือชุมชนเล็ก ๆ กระจายกันอยู่ห่าง ๆ กัน มีอาคารบ้านโรงเรือนไม่หนาแน่น หากตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่นขึ้นก็เรียกเป็น “หมู่บ้าน” (village) แล้วก็เป็นหมู่บ้านอย่างในชนบท คำว่า “ชนบท” (a rural area) นี้ แม้แต่เดิมมาเราจะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าภาพของชุมชนชนบทนั้นต้องอยู่นอกเมือง (cities and towns)




 แต่ในปัจจุบันนี้ ชุมชนชนบทหลาย ๆ แห่งเมื่อนำมารวมอาณาเขตเข้าด้วยกัน จะเกิดภาพง่าย ๆ ของ “เมือง” ในแบบเป็นทางราชการ กล่าวคือชุมชนชนบทเหล่านั้นล้วนเป็นการตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ (a component of a larger settlementทั้งนี้ก็เพื่อจะได้จัดการบริหารชุมชนในรูปชุมชนเมืองเรียกว่า “เทศบาล” (municipality) นั้นเอง









4.       นอกเหนือจากนี้ก็มี เมืองปรากฏในรูปสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นเพื่ออำนายประโยชน์ให้แก่คนอยู่เมืองและความเป็นวิถีเมืองของตน อีกมากมายหลากหลาย เช่น ถนนหนทาง แม่น้ำ ลำคลอง ระบบการใช้พื้นที่และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน สิ่งแสดงขอบเขตอาณาบริเวณเมือง ไปจนถึง ตลาด ธนาคาร สระ สวนสาธารณะ วัดวาอารม ฯลฯ ซึ่งต้องเอาไว้ค่อย ๆ นำมาบ่นเป็นเรื่อง ๆ เมื่อเห็นว่าเกี่ยวข้องกันต่อ ๆ ไป

การปูพื้นเรื่องว่าด้วยกายภาพของเมืองนี้ ออกจะยืดยาวเอาการอยู่ ….แต่ก็จำเป็นเพราะหากข้ามไปเสียแล้ว จะทำให้การบ่นว่าด้วย “คนและสังคมวัฒนธรรมวิถีเมืองของคนเรา” ในตอนข้างหน้า ก้ต้องย้อนกลับมาพูดถึงอยู่ดีแหละ เพราะคนและสังคมของคนนั้นล้วนบรรจุอยู่ในเมืองเชิงกายภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น









No comments: