Monday, October 6, 2014

103 ภาพเมืองในมุมมองการตั้งถิ่นฐาน

มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล ภาพเมืองเชิงพื้นที่
คนบ่นเมือง: มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล
103 ภาพเมืองในมุมมองการตั้งถิ่นฐาน


ในตอนที่ 102 เราสำรวจพบภาพเมืองบนโลกอินเตอร์เน็ท นั้นส่วนมากมักปรากฏในรูปของตึกรามบ้านช่องหรืออาคารสถานที่ สิ่งปลุกสร้าง ที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมหมู่ในสถานที่จำกัดหรือพื้นที่กว้างแผ่ออกเพื่ออำนวยความสุขสบายและปลอดภัยสำหรับการเป็นอยู่ทำกิจกรรมของหมู่มนุษย์

กล่าวคือคนอยู่เมืองจะสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อสนองความต้องการให้มีสิ่งห่อหุ้มคุ้มกันภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแบบต่าง ๆ เพื่อประกันความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเกิดมีพื้นที่สำหรับใช้ชีวิตอยู่อาศัย เพื่อให้เกิดการเป็นส่วนตัวส่วนบุคคลหรือกลุ่มสังคม เพื่อเก็บรักษาสงวนไว้ซึ่งสิ่งที่ตนมีหรือครอบครอง และเพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตและการงาน



คำถามต่อมาก็คือ ล้วภาพมุมกว้างของภูมิประเทศหรืออาณาเขตที่สิ่งปลูกสร้างแสดงตนแทนภาพเมืองเหล่านั้น สร้างขึ้นมาแล้ว มีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
คำตอบ: ภาพต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความมั่นคง ถาวร และหนาแน่น ของสิ่งเหล่านี้ (ตัวอย่าง) ได้แก่

1. เป็นชุมชน (Community) มีผู้คนอาศัยอยู่หรือทำกิจกรรมอยู่ข้างในชุมชน “ภาพแทนความเป็นเมือง” นั้น ๆ










 2. เมืองประกอบด้วยภาพของผู้คนพลเมือง (People) หมายถึงบุคคลต่าง ๆ  ที่เข้าอยู่หรือเสมือนเป็นอยู่ในฐานะสมาชิกกลุ่มชนใด ๆ เช่น เชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา หรือการดำรงตนของกลุ่มชนเหล่านั้นในวิถีชีวิตที่เด่นชัดตามวิถีอาชีพหรือชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ 













3. ภาพแทนความเป็นเมือง ขนาดเล็กที่สุดอาจมองเห็นจากระดับเล็กไปหาใหญ่ หรือจากเบาบางไปหาหนาแน่น เริ่มต้นจากคำว่า  “กลุ่มบ้าน” (hamlet) ที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนย่อยขนาดย่อมหรือชุมชนเล็ก ๆ กระจายกันอยู่ห่าง ๆ กัน มีอาคารบ้านโรงเรือนไม่หนาแน่น หากตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่นขึ้นก็เรียกเป็น “หมู่บ้าน” (village) แล้วก็เป็นหมู่บ้านอย่างในชนบท คำว่า “ชนบท” (a rural area) นี้ แม้แต่เดิมมาเราจะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าภาพของชุมชนชนบทนั้นต้องอยู่นอกเมือง (cities and towns)




 แต่ในปัจจุบันนี้ ชุมชนชนบทหลาย ๆ แห่งเมื่อนำมารวมอาณาเขตเข้าด้วยกัน จะเกิดภาพง่าย ๆ ของ “เมือง” ในแบบเป็นทางราชการ กล่าวคือชุมชนชนบทเหล่านั้นล้วนเป็นการตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ (a component of a larger settlementทั้งนี้ก็เพื่อจะได้จัดการบริหารชุมชนในรูปชุมชนเมืองเรียกว่า “เทศบาล” (municipality) นั้นเอง









4.       นอกเหนือจากนี้ก็มี เมืองปรากฏในรูปสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นเพื่ออำนายประโยชน์ให้แก่คนอยู่เมืองและความเป็นวิถีเมืองของตน อีกมากมายหลากหลาย เช่น ถนนหนทาง แม่น้ำ ลำคลอง ระบบการใช้พื้นที่และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน สิ่งแสดงขอบเขตอาณาบริเวณเมือง ไปจนถึง ตลาด ธนาคาร สระ สวนสาธารณะ วัดวาอารม ฯลฯ ซึ่งต้องเอาไว้ค่อย ๆ นำมาบ่นเป็นเรื่อง ๆ เมื่อเห็นว่าเกี่ยวข้องกันต่อ ๆ ไป

การปูพื้นเรื่องว่าด้วยกายภาพของเมืองนี้ ออกจะยืดยาวเอาการอยู่ ….แต่ก็จำเป็นเพราะหากข้ามไปเสียแล้ว จะทำให้การบ่นว่าด้วย “คนและสังคมวัฒนธรรมวิถีเมืองของคนเรา” ในตอนข้างหน้า ก้ต้องย้อนกลับมาพูดถึงอยู่ดีแหละ เพราะคนและสังคมของคนนั้นล้วนบรรจุอยู่ในเมืองเชิงกายภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น


Sunday, September 28, 2014

ภาพเมืองเชิงพื้นที่: สิ่งปลูกสร้าง

มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล ภาพเมืองเชิงพื้นที่
คนบ่นเมือง: มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล
102 ภาพเมืองเชิงพื้นที่: สิ่งปลูกสร้าง


เมื่อสำรวจ “ภาพเมือง” ในยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคคอมพิวเตอร์ ยุคดิจิตอล หรือ ยุคสื่อใหม่ เห็นได้จัดเจน ว่าคนทั่วโลกเห็นภาพเมืองในลักษณะเชิงกายภาพเป็นอันดับแรก และด้วยจำนวนผู้เห็นอย่างนี้มีหนาแน่นอีกด้วย

พูดกันเข้าใจง่าย ๆ คือ คนเราส่วนมากเมื่อมองเมืองจะเห็นเมือง เป็นภาพตึกรามบ้านช่อง อย่างนี้ก่อน

 (เรื่องนี้บ่นต่อจากตอนที่แล้ว 101 สำรวจภาพเมืองบนโลกอินเตอร์เน็ท



ตึกรามบ้านช่องหรืออาคารสถานที่ นั้นคือสิ่งปลุกสร้าง ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ว่ากันแบบให้มองเห็นแทน “ภาพเมือง” คือ สิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างประกอบด้วยหลังคาและผนังกำแพงที่ตั้งอยู่อย่างถาวร (หรืออาจไม่ค่อยถาวรสักเท่าใด) ในสถานที่หนึ่ง

แล้วภาพเมืองในรูปสิ่งปลูกสร้างดังว่าเหล่านั้นอาจมีรูปทรงหลากหลายแตกต่างกันไป รวมทั้งขนาดและหน้าที่การใช้สอยใช้ประโยชน์จากตัวสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ อันย่อมทำให้สิ่งปลูกสร้างแทนภาพเมืองนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับวัสดุหรือวัตถุที่นำมาใช้ปลูกสร้างมันขึ้นมาให้ทรงไว้ และดำรงอยู่ได้ตามเงื่อนไขของสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิทัศน์ และการใช้ประโยชน์เฉพาะ รวมทั้งเหตุผลด้านคุณค่าทางศิลป์ของมนุษย์ที่สร้างสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นขึ้นไว้เป็นตัวแทนของภาพเมืองนั้นโดยรวม

เราจึงอาจพูดได้ว่า ภาพเมืองในรูปสิ่งปลูกสร้างดังว่ากันอยู่นี้ ก็คือสิ่งที่มนุษย์เมืองสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการทางสังคมของตนเองหรือกลุ่มสังคมหมู่เหล่าพวกตนเองนั้นเอง
ความต้องการพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ที่อยู่รวมกลุ่มกันเป็นหมู่สัตว์หรือสัตว์สังคม (เช่น ครอบครัว กลุ่มครือญาติ หมู่บ้าน เมืองเล็ก เมืองใหญ่ไปจนถึงเมืองมหานคร) ก็คือ ให้มีสิ่งห่อหุ้มคุ้มกันภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแบบต่าง ๆ ให้มีสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สิน ให้มีสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกิดมีใช้พื้นที่สำหรับใช้ชีวิตอยู่อาศัย เพื่อให้เกิดการเป็นส่วนตัวส่วนบุคคลหรือกลุ่ม เพื่อเก็บรักษาสงวนไว้ซึ่งสิ่งที่ตนมีหรือครอบครอง และเพื่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตและการงาน

ถึงชั้นนี้อาจกล่าวสั้น ๆ ให้เป็นสูตรเข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า ความรู้จำว่านี้คือเมืองผ่านภาพของสิ่งปลูกสร้างนั้น
ก็คือความเข้าใจว่า “เมืองคือสถานที่ หรือ พื้นที่อันสุขสบายและปลอดภัยสำหรับการเป็นอยู่ทำกิจกรรมของหมู่มนุษย์” นั้นเอง


เรื่อง “เมืองคือพื้นที่ของสังคมมนุษย์” ขี้เหม็นอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี้แหละ ที่ “คนบ่นเมือง” ตั้งใจว่าจะนำมาบ่นกันยาว ๆ ต่อไป



Monday, September 22, 2014

มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล

คนบ่นเมือง: มองเมืองบนโลกยุคดิจิตอล
101 สำรวจภาพเมืองบนโลกอินเตอร์เน็ท

ยุคข้อมูลข่าวสาร บางครั้งก็เรียกว่ายุคคอมพิวเตอร์ ยุคดิจิตอล หรือ ยุคสื่อใหม่
ว่ากันว่าเราท่านต่างกำลังอยู่ในยุคนี้กันแล้ว ก็อย่างการบ่นเล่าเรื่องบนหน้าเว็บบล็อก “คนบ่นเมือง” โยงกันไปมานี้ไงครับ
โดยลักษณะการสื่อสารเป็นการเล่าบ่นสื่อสารเรื่องเมืองบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปสู่ผู้อ่านชมผ่านเครื่องมือสื่อสารใหม่ (เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค โน้ตแพด ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ/เคลื่อนที่ เป็นต้น)

เมื่อเราอยู่ในยุคดิจิตอลสามารถรับรู้รับส่งข้อมูลผ่านไปมาถึงกันได้ผ่านสื่อใหม่ ๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว การสำรวจทำความเข้าใจเกี่ยวกับเมือง (เพื่อที่จะใช้เป็นเวทีและเครื่องมือในการบ่น) จึงขอเริ่มต้นกันบนโลกอินเตอร์เน็ทนี้แล้ว

ไปถาม Google กัน
ถาม: เมือง

ตอบ




ถาม: แล้ว “เมือง” ที่ฉันรู้จัก อย่างแถวบ้านฉันละ?
ตอบ: เลื่อนหน้าจอไปเลื่อย ๆ จนกว่าคุณจะสนใจ





ถาม: บ้านเราอยู่เชียงใหม่?
ตอบ: คุณเคยอยู่และย้ายไปมาแถวแถบถิ่นเหล่านี้ สิบยี่สิบปีไม่ใช่รึ?



ถาม: บ้านเกิด ตอนรุ่น ๆ เราอยู่อีสานนะ
ตอบ: ขอนแก่น






และการบ่นเมืองวันนี้ ขอลากันด้วย เพลงบ่นแบบคนอยู่เมืองไว้ให้ฟังกัน (ถ้ารำคาญก็ปิดเสียก็ได้ครับ)








Monday, September 15, 2014

ก่อนเข้าเมือง

คนบ่นเมือง: เรื่องเล่าของเขาและฉัน



001 ก่อนเข้าเมือง


หลายวันก่อนนี้ ฉันยังคงอยู่ในรังฐานที่มั่น ไม่กล้าออกไปข้างนอก ด้วยยังไม่รู้แน่ว่าข้างนอกนั้นมันมีอะไรอยู่บ้าง ฉันไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ เวียง/เมือง แต่ก็แหละนะ รู้แล้วให้เหยียบไว้เสียตรงนี้ อย่าเอาไปเล่าต่อให้ใครฟังเด้อหละ คืออย่างนี้เมื่อวานตอนเช้าของวันอาทิตย์ ความสงสัยอยากรู้อยากเห็นที่อัดแน่นอยู่ภายในตัวตนที่จะครบหกสิบปีเต็มอยู่แล้วในอีกสามวันถัดไป (นับจากวันอาทิตย์นั้น) ฉันแอบเปิดประตูรั้วหน้ารังหนีความกลัวความหวาดระแวงอนาคตออกไปสำรวจดูภายนอกด้วยหละจะบอกให้




พ้นประดูรั้วออกไปได้สักยีสิบก้าว มีไม้ต้นหนึ่งยืนอยู่ข้างเสาไฟฟ้าต้นแรกริมถนนหน้ารังฐานที่มั่นของฉัน

ฉันเห็นสิ่งหนึ่งถูกตอกติดไว้กับกิ่งไม้



“ยังไง...ก็ได้เงิน”

แล้วยัง “มีรถ มีบ้าน”

ถือเป็นการทักทายแรกสุดของโลกภายนอกกับคนแปลกหน้าต่อเมืองและวิถีของมันอย่างตัวฉันก็ได้


เท่านั้นยังไม่พอ โลกแบบเมืองภายนอกผู้ใจดียังพ่วง “ดอกเบี้ยต่ำ”, “จำนำง่าย”, แถมมอบ “ได้เงินเร็ว”
ให้มือใหม่หัดริหนีเข้าเวียงคนนี้           อีกตะหาก




แล้วมีอะไรติดแปะอยู่ที่เสาไฟฟ้ายืนต้นข้าง ๆ กันนั้นอีกหละ เอ่อ ออ อ๋อ ....



พวก “ปลวก” ๆ ยกขบวนออกมายืนต้อนรับอยู่ข้างถนนก่อนใคร ๆ เลย

                                               






ขอบใจนะ ยินดีมาก ๆ เลยอะ 



เป็นไงกันบ้างม่วนก่อ แปลว่า สนุกไหมหละ เรื่องเล่าของเขาและฉัน?

ตอนนี้ดูนาฬิกาหน้าจอคอมพิวเตอร์ บอกเวลา 4:31 AM
(ขอยั้งหยุดพักไว้ก่อนแล้วกัน บึดเดี๋ยวจะกลับมาจ่ม...บ่นให้ฟังใหม่)





 กลับมาเดินกันต่อ เรื่องยังอยู่ที่เสาไฟฟ้าต้นแรกที่ “ปลวก” มายืนเข้าแถวกันซะลาบเหมือนคอยต้อนรับคนแปลกหน้าต่อเมืองและวิถีของมันอย่างตัวฉัน  ปลวกนี้ฉันเดาเอาว่าคงเป็นชื่อเรียกพลเมืองหรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันกับประชาชนชาวเมืองมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วก็เป็นได้


มาด้วยกันนะ จะพาไปมองดูอีกด้านของเสาไปฟ้าต้นเดียวกันนี้ว่ามีอะไรบอกใบ้ ให้เราพอได้รู้เรื่องเกี่ยวกับเมืองหรือชาวเมืองเขาเป็นอยู่กันอย่างไร? คราวนี้บางท่านอาจจะพะอืดพะอมรู้สึกคลื่นไส้ก็ต้องขออภัยกันก่อน!
ชาวเมืองมีส้วมไว้ทำไม? แล้วทำไมจะต้องไปสูบมันด้วย?

เดินกันต่อ...ถัดไปเสาไฟฟ้าต้นที่ 2


เสานี้มีป้ายประกาศโฆษณาขายบริหารติดอยู่สองแผ่น ประกาศรับให้บริการแก่ชาวเมืองสองประเภท
ป้ายบนบอกว่า มีรถ 6 ล้อ รับจ้าง (ขนของ)ย้ายบ้าน ขนพัสดุ และอื่น ๆ เอ...คนอยู่เมืองนี่เขาคงย้ายบ้านที่อยู่อาศัยกันไปมามากครั้งและมากราย จึงต้องมีงานให้บริการแบบนี้ด้วย ...แล้วชาวเมืองทำไมต้องย้ายที่อยู่ แล้วเขาย้ายไปย้ายมาเข้าไปอยู่ในเคหะสถานชนิดใดกันบ้าง?

ส่วนป้ายใบล่างลงมานอกจากบอกว่าให้บริการขนย้ายบ้านแล้ว ยังรับบริการจัดสวน ตัดหญ้า และงานต่อเติมบ้านอีกด้วย
ใช่แล้ว ในเมืองก็ต้องมีบ้านคนอาศัยอยู่? เรื่องเกี่ยวกับบ้านที่อยู่อาศัยนี้ก็คงเป็นเรื่องใหญ่ของเมืองและวิถีชีวิตชาวเมืองด้วย




สรุปการเรียนรู้เรื่องเมืองของฉันในเช้าวันอาทิตย์วานนี้ ถึงตอนนี้เห็นได้ชัดเจนในภาพเสาไฟฟ้าต้นที่ 3




เดินต่อไปอีกเป็นเสาไฟฟ้าต้นที่ 4 กับ ต้นที่ 5 ก็มาถึงหน้าปากซอยหมู่บ้านเชื่อมถนนหลวงพอดี



ปากทางเข้าหมู่บ้านที่เชื่อมกับถนนใหญ่ มีป้ายบอกชื่อหมู่บ้านนี้ พร้อมลูกศรชี้เข้าหมู่บ้านด้วยแหละ .... หมู่บ้านนี้จะชื่ออะไรนั้น ฉันถ่ายภาพเก็บไว้แล้ว แต่ขออุบไว้ก่อน แต่จะพาท่านผู้อ่านท่านผู้ฟังเรื่องเล่าของเขาและฉันข้ามถนนใหญ่ไปสำรวจอีกฟากของถนน คือฟากตรงข้ามกับปากซอยทางเข้าหมู่บ้านที่ฉันพาท่านเดินชมเสาไฟฟ้ามาสี่ห้าต้นนั้นแล้ว




อ้า...ข้ามมาด้วยกันแล้ว ก็เลี้ยวขวามือ (ตามขวามือของเรา ไม่ใช้ขวาของหน้าจอ/หน้ากระดาษ) มองเห็นอะไรไหม?

ถ้าหากมีใครบอกเราว่าความเป็นเมืองนั้นวัดกันได้ที่เขตการปกครองระดับเทศบาลขึ้นไปแล้วละก็ นั้นหมายความว่า อะฮ่า....   
บ้านข้าฯ ก็อยู่ในเขตเมืองเหมือนกันนี่นา


แม้ว่าจะอยู่ห่างศูนย์กลางการบริหารจัดการเมือง จนนับว่าเป็นชายขอบของศูนย์บริหารเมืองนั้นก็ตามทีเต๊อะ



แล้ววันนั้นฉันก็ข้ามถนน แล้วรีบเดินรี่กลับเข้าไปยังบ้านเรือนรังฐานที่มั่นเดิม ๆ โดยสวัสดิภาพ
จึงได้เก็บเอามาเล่าสู่กันอ่านกันฟังดังนี้.

 (ยังจะมีมาเล่าบ่นสู่กันต่อไป แม้ไม่มีใผเข้ามาฟัง)



สวัสดี

คนบ่นเมือง
วันจันทร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗


Saturday, September 13, 2014

ทดสอบ

ทดสอบการเชื่อมต่อระหว่าง ฺBlogger กับ หน้า facebook คนบ่นเมือง